วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมและเทคโนโลยี


"นวัตกรรม" หมายถึง ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น "นวัตกรรมการศึกษา" (Educationnal Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนและประหยัดเวลาในการเรียน "นวัตกรรมทางการศึกษา" (Educationnal Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนและประหยัดเวลาในการเรียน นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น(Innovation) หรือเป็นการปรับแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัยระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development) มีการทกลองในแหล่งทดลอง จัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
รูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรม แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ 1. การเผยแพร่ที่อิงการใช้อำนาจสนับสนุนจากเบื้องสูง AIDM (Authority Innovation-Decision Model) อำนาจที่ตัดสินใจยอมรับหรือใช้นวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรมเกิดขึ้นจากผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ระดับสูง 2. การเผยแพร่แบบใช้มนุษย์สัมพันธ์ HI (Human Interaction Model) ให้ความสัมคัญกับบุคคลในกลุ่มที่จะต้องใช้นวัตกรรม มีการศึกษาค้นคว้าถึงตัวแปรต่าง ๆ ที่จะทำให้เข้าใจบุคคลดังกล่าวได้ดีขึ้น เพื่อที่เขาจะได้ยอมรับนวัตกรรมได้เร็วขึ้น 3. การเผยแพร่แบบอิงประชากรผู้ใช้นวัตกรรม UP (User Partricipation Model) เป็นการใช้รูปแบบ AIDM และ HI เป็นพื้นฐาน แล้วแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น 4. การเผยแพร่แบบผสม (Eclectic Process of Change Model) ศึกษาจุดด้อยจุดเด่นของทั้ง 3 แบบแรก โดยนำเอาจุดเด่นเหล่านี้มาผสมผสานกัน คำนึงถึงขั้นตอนการเผยแพร่อย่างละเอียดและเน้นที่ตัวนวัตกรรมที่ทำการเผยแพร่อีกด้วย สร้างนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญภายใต้ความร่วมมือของผู้ใช้
ตัวอย่างการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาของประเทศไทย 1. การเผยแพร่ระบบการจัดการศึกษาใหม่ หรือ "การปฏิรูปการศึกษา" โดยสั่งการลงมาโดยใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2. การเผยแพร่วิธีการสอนแบบ "ผู้เรียนเป็นสำคัญ" มีการอ้างบทบัญญัติของกฎหมายเป็นตัวนำในการเปลี่ยนแปลง 3. การเผยแพร่นวัตกรรม "ห้องเรียนอัจฉริยะ" ดำเนินการทดลองให้ห้องเรียนอัจฉริยะที่มีระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตช่วยในการเรียนรู้ของนักเรียน 4. การเผยแพร่นวัตกรรม "ระบบทวิภาคี" กรมอาชีวศึกษา เผยแพร่การจัดการเรียนการสอนโดยนำเอาระบบ Dual System ของเยอรมันมาใช้ 5. การเผยแพร่เทคโนโลยีการเรียนแบบ E-Learning
วิธีการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นวิธีการที่ต้องนำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นโดยนำมาผ่านกระบวนการที่ส่งผลต่อการรับรู้ของบุคคลทั่วไป......................................................................................................................................
อ้างอิงจากสุทธิพงศ์ หกสุวรรณ. การเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2548
Prev: บทความเล็ก ๆNext: ลักษณะของการคิดวิเคราะห์

นวัตกรรมและเทค